ประกาศ!!!

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ว 32161 ดาราศาสตร์

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์วิสูตร ยอดสุข


จัดทำโดย  นายวโรดม  ฮุ่นศิริ  ชั้น ม.5/4  เลขที่ 3

ปีการศึกษา 2555


โรงเรียนสมุทรปราการ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำถามท้ายบทที่ 4 เรื่อง ธรณีประวัติ

คำถาม                                                                                                                    

1. นักวิทยาศาสตร์ทราบได้อย่างไรว่า ครั้งหนึ่งบนโลกมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่
ตอบ นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานการมีอยู่ของไดโนเสาร์โดยการศึกษาซาดึกดำบรรพ์

2. เพราะเหตุใดเราจึงไม่ค่อยพบซากดึกดำบรรพ์ในกลุ่มอัคนี และหินแปร
ตอบ เพราะหินอัคนีนั้นคือหินภูเขาที่พ่นออกมาและแข็งตัวลงดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะพบฟอสซิล และหินแปรเป็นที่มีการแปรสภาพโดยความกดดันและความร้อนจึงเป็นเรื่องยากที่จะพบฟอสซิล
3. ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบสามารถบอกอะไรแก่เราได้บ้าง
ตอบ 1) บอกอายุของสิ่งมีชีวิเจ้าของฟอสซิล
2) บอกสภาพแวดล้อมในขนาดที่สิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิลยังดำรงชีวิตอยู่
3) บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิล
4) บอกสาเหตุการตายของสิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิล

4. ซากดึกกำบรรพ์ที่ดีและบ่งชี้อายุได้ชัดเจนควรเป็นอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างเท่าที่ทราบ
ตอบ ควรมีลักษณะสมบูรณ์ใกล้เคียงกับลักษณะตอนที่สิ่งมีชีวิตเจ้าของซากฟอสซิลนั้นยังมีชีวิตอยู่ เช่น ซากฟอสซิลช้างแมมอธชื่อ ลิวบาที่มีสภาพสมบูรณ์จากกาารถูกแช่แข็ง หรือซากแมลง ที่อยู่ในอำพันซึ่งเกิดจากยางไม้

5. การลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีความสำคัญอย่างไรกับการศึกษาความเป็นมาของโลก
ตอบ เพราะซากฟอสซิลและลำดับชั้นหินนั้นสามารถบอกได้ถึงอายุและความเก่าแก่ของเจ้าของซอสซิล
สภาพความเป็นอยู่ในขนาดมีชีวิต รวมไปถึงสาเหตุของการตายของสิ่งมีชีวิต ซึ่งล้วนแล้วแต่เชื่อม
โยงไปยังสภาพแวดล้อมของโลกในโดยซึ่งศึกษาจากหลักฐานทางเคมีในชั้นดิน เช่น การศึกษาการสูญพันธุ์ของไดโดนเสาร์ไปจากโลกโดยการศึกษาซากฟอสซิลที่มีอายุอยู่ในช่วงนั้นและตรวจสอบชั้นดินในขนาดนั้นเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง

6. ถ้านักเรียนสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของปะการังบนยอดเขาแห่งหนึ่ง นักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดภูเขานั้นอย่งไรจงอธิบาย
ตอบ 1) ภูเขาลูกนี้เกิดจากอยู่ยกตัวของพื้นดินที่มีสาเหตุมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ทำให้ภูเขายก
ตัวขึ้นมาพ้นน้ำ
2) เกิดจากการลดลงของระดับน้ำทะเลทำให้ภูเขาใต้มหาสมุทรโผล่ขึ้นมาจากน้ำ จาก 2 กรณียังไม่สามารถสรุปได้แน่นอนเพราะยังขาดหลักฐานอื่นที่ทำให้เชื่อได้ว่าเกิดจากกรณีใด กรณีหนึ่ง



คำถามท้ายบทที่ 3 เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา

คำถาม                                                                                       

1. อธิบายความแตกต่างระหว่างคำต่อไปนี้ "ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" กับ "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว"
ตอบ ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว คือตำแหน่งที่เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินที่ให้เกิดการสั่นไหว แต่ จุดเหนือศูนย์แผนดินไหว คือตำแหน่งที่อยู่เหนือตำแหน่งของตำแหน่งที่เกิดการเคลื่อนตัว ของแผ่นดินที่ให้เกิดการสั่นไหวขึ้นมาบนพื้นดิน

2. แนวที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณใดของผิวโลก ในประเทศไทยมีแยวเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดหรือไม่
ตอบ แนวภูเขาไฟและแผ่นดินไหวนั้นจะอยู่บริเวณรอยเลื่อนต่างๆของเปลือกโลก ซึ่งประเทศไทยนั้นมีแนว รอยเลื่อนขนาดเล็กอยู่ตามแนวชายแดนภาคตะวันตก แต่ภูเขาไฟในประเทศไทยไนั้นเป็นภูเขาไฟ ที่ไม่มีพลังแล้วทั้งสิ้น

3. แมกมาที่แทรกตัวอยู่ตามรอยแยก รอยแตกของหินใต้พื้นผิวโลกเมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นหินชนิดใด
ตอบ หินไรโอไลต์(Ryolite), หินแอนดีไซต์(Andesite), หินบะซอลต์(Basalt) หินทัฟฟ์ (tuff), หินแอกโกเมอเรต(agglomerate), หินพัมมิซ (Pumice), หินสคอเรีย (Scoria), หินออบซีเดียน (Obsedian) เป็นต้น

4. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
ตอบ สาเหตุเกิดจากการเลื่อนของแผ่นธรณีทำให้เกิดความเครียดสะสมและปลดปล่อยออกมาเป็น คลื่นปฐมภูมิ และคลื่นทติยภุมิ

5. นักเรียนคิดอย่างไรจากคำกล่าวที่ว่า "ภูเขาไฟเสมือนหน้าต่างที่สามารถมองเห็นถึงภายในโลก"
ตอบ เป็นคำเปรียบเทียบถึงการที่เรา สามารถนำวัตถุที่ภูเขาไฟพ่นออกมาเพื่อศึกษา และองค์ประกอบ ของหินเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภายในโลก

6. บอกประโยชน์และโทษของการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
ตอบ ประโยชน์ของภูเขาไฟระเบิด
1) ทำให้เกิดแผ่นดินใหม่
2) แร่ธาตุมหาศาลทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์บนพื้นดิน
3) ทำให้สามารถศึกษาองค์ประกอบของโลกจากการศึกษาองค์ประกอบของธาตุที่ภูเขาไฟ
พ่นออกมา
4) ทำให้เกิดอัญมณีมีค่าทางเศรษฐกิจ
5) เป็นแหล่องท่องเที่ยวเชิงวิทยาศาสตร์
โทษของภูเขาไฟ
1) สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อชีวิตและทรัพย์ต่อพื้นที่


วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำถามท้ายบทที่ 2 โลกและการเปลี่ยนแปลง

คำถามท้ายบท                                                                               

1.หลักฐานที่แสดงว่าทวีปต่าง ๆ เคยเชื่อมต่อกันมีอะไรบ้าง
 ตอบ - รอยต่อของขอบทวีปต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้
       -    หลักฐานความคล้ายกันของกลุ่มหินประเภทและช่วงอายุเดียวกันในทวีปต่าง ๆ
       -    หลักฐานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกันที่พบในทวีปต่าง ๆ  

2.นัก เรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของทวีปอย่างไร ให้อธิบายและยกตัวอย่างหลักฐานหรือข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เป็นเหตุผล สนับสนุน
ตอบ -  หลักฐานสันเขาใต้สมุทร และร่องลึกใต้สมุทร
       -  หลักฐานอายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทร
       -  หลักฐานภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล

3.เพราะเหตุใดปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหว มักจะเกิดตามเขตมุดตัวของแผ่นธรณี
ตอบ บริเวณ ที่มีการมุดตัวของแผ่นธรณี หินบริเวณดังกล่าวจะได้รับแรงมากระทำตลอดเวลา ทำให้หินตอบสนองต่อแรง โดยเปลี่ยนลักษณะและปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นไหวสะเทือนทำให้เกิดแผ่น ดินไหว นอกจากนี้ กระบวนการมุดตัวยังทำให้หินในชั้นเนื้อโลกที่อยู่ใต้แผ่นธรณีที่ถูกหมุดตัว มีจุดหลอมเหลวต่ำลง ทำให้หินหลอมตัวเกิดเป็นแมกมา

4.รอยคดโค้ง รอยแตก รอยเลื่อนในหินมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่ และเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ รอย คดโค้งในชั้นหิน เป็นระนาบคดโค้งที่พบในชั้นหิน เป็นผลเนื่องมาจากชั้นหินที่มีสมบัติเป็นพลาสติก ตอบสนองต่อแรงที่มากระทำโดยการเปลี่ยนลักษณะ

5.จากแนวการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีต่าง ๆ จะมีผลต่อภูมิประเทศของโลกอย่างไรในอนาคต
ตอบ -   การที่แผ่นธรณีอินเดีย ออสเตรเลียชนกับแผ่นดินยูเรเซีย (แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน)ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย และเทือกเขาหิมาลัยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
       -   มหาสมุทรแปซิฟิกจะมีขนาดเล็กลง
 

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำถามท้ายบทที่1 โครงสร้างโลก

คำถามท้ายบท                                                                                       


1.หินต้นกำเนิดของเเมกมาส่วนใหญ่อยู่บริเวณชั้นเนื้อโลกตอนบน ให้นักเรียนบอกประเภท เเละส่วนประกอบของหินต้นกำเนิดเเมกมา 
ตอบ           มี 3 ประเภท
                 -  หินหนืดบะซอลต์
                 -  หินหนืดไดออไรต์ 
                 -  หินหนืดไรโอไลต์ 
ส่วนประกอบ ทั้งของแข็งและก๊าซ โดยส่วนที่เป็นของแข็งนั้น คือ ผลึกแร่ ที่มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ธาตุที่พบใน แร่ซิลิก้า ก๊าซที่อยู่ในแมกมานั้น ประกอบไป ด้วย คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ ลาวาเป็นส่วน ประกอบที่สำคัญของแมกมานั่นเอง เพียงแต่ส่วนประกอบที่ เป็นก๊าซที่อยู่ในแมกมานั้นได้หายไปกับอากาศหรือน้ำแล้ว
2. คลื่น P เเละ S มีความเเตกต่างอย่างไร
ตอบ   คลื่น P สามารถเคลื่นที่ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ เเละมีความเร็วมากกว่าคลื่น S
คลื่น S สามารถเคลื่นที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของเเข็งเท่านั้น
 
3. เมื่อ เกิดแผ่นดินไหว  ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง  จะเกิดเขตอับคลื่น  S  ( S wave shadow zone ) ที่ครอบคลุมผิวโลกในบริเวณกว้าง ให้นักเรียนใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของคลื่นไหวสะเทือนเเละโครงสร้างโลก อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว
ตอบ    ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว จะ เกิดแรงสั่นสะเทือนขยายแผ่จากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวออกไปโดยรอบทุกทิศทาง เนื่องจากภายในของโลกมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน และมีสถานะต่างกัน คลื่น S ไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นของเหลวได้โดยจะต้องผ่านแก่นโลกชั้นนอกซึ่งเป็นของเหลว จึงปรากฏแต่บนซีกโลกเดียวกับจุดเกิดแผ่นดินไหว โดยมีเขตอับอยู่ที่มุม 103 องศาเป็นต้นไป

4.ให้นักเรียนทำแผนผังสรุปโครงสร้างโลกต่อไปนี้ โดยเติมลงในช่องว่างให้สมบูรณ์



 

facebook